รบกับเจ็ก
ประสงค์ บานชื่น
ทางสื่อมวลชน เช่นวิทยุ โทรทัศน์ (เอ๊ย, ยังไม่มี) และหนังสือพิมพ์ ว่า “เชื่อผู้นําชาติพ้นภัย” “มาลานําไทยสู่มหาอํานาจ” “ใครบุกประเทศไทย เราจะรบจนสุดใจขาดดิ้น” “เราจะสู้ตายจนคนสุดท้าย” เป็นต้น เมฆหมอกแห่งสงครามเหมือนจะครอบงําไปทั่วประเทศไทย
ปลายปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ผู้เขียนเป็นนักเรียนแพทย์ชั้นปีที่ 4 ที่ร.พ. ศิริราช สมัยนั้นนักเรียนแพทย์ที่ร.พ.ศิริราชยังขึ้นกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกไม่กี่เดือนพวกเราก็จะสําเร็จเป็นแพทยศาสตร์บัณฑิตครบบริบูรณ์ระยะนั้นรัฐบาลไทยภายใต้การปกครองของ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ประกาศทุกวี่วันควันแห่งสงครามกําลังลอยทะมึนไปทั่วฟ้าเมืองไทย สงครามอินโดจีนแม้จะยุติลงแล้ว แต่ไฟแห่งสงครามยังครุกรุ่น คนไทยทุกคนถูกกระตุ้นให้สํานึกว่า สงครามจะเกิดอีกเมื่อไรก็ได้ วันนี้ พรุ่งนี้ เดือนนี้หรือเดือนหน้า ไม่มีใครคาดคะเนได้ สงครามอินโดจีน เพิ่งจะเลิกไปหยก ๆ โดยญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ไกล่เกลี่ย ผลของสงครามครั้งนั้น ทําให้ประเทศไทยได้ดินแดนเพิ่มขึ้น เช่น พระตะบอง เสียมราฐ เป็นต้น เรียกว่าไทยเป็นผู้ชนะสงครามอินโดจีนงั้นเถอะ
สงครามอินโดจีนเกิดขึ้นเพราะฝรั่งเศสในสมัยนั้นพ่ายแพ้ สงครามแก่เยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ ๒ อย่างยับเยิน เยอรมันยึดครองฝรั่งเศส ไทยเลยถือโอกาสที่ฝรั่งเศสกําลังอ่อนเพลียหมดเรี่ยวแรงทางทหารไม่สามารถจะปกป้องเมืองขึ้นประเทศในแถบอินโดจีน ได้มี ญวน ลาว และเขมร ไทยจึงประกาศสงครามกับฝรั่งเศส และเดินทางเข้ายึดครองเขมรอย่างง่ายดาย ทหารไทยสมัยนั้นแกล้วกล้าจริง ๆ นอกจากกล้าหาญชาญชัยแล้ว ยังอยู่ยงคงกะพันลูกปืนแคล้วคลาด หรือถึงถูกก็ไม่เข้าไม่ระคายผิวหนังว่างั้นเถอะ เนื่องจากมีพระเครื่อง เครื่องรางของขลังอื่น ๆ เช่น ตะกรุด เสื้อยันต์หลวงพ่ออี๋ (พระอาจารย์ของพลเรือเอกกรมหลวงชุมพรอุดมเขต) แห่งวัดสัตหีบ ผู้เขียนมีเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน ออกรบแนวหน้าแถบเมืองไพลินเล่าว่าเขาออกรบประจันหน้ากับทหารเขมรในบังคับบัญชาของนายทหารฝรั่งเศส เพื่อน ๆ หลายคนแขวนพระเครื่องเต็มคอห้อยตะกรุดสวมเสื้อยันต์กับเครื่องแบบทหาร วิ่งประจัญบานกับทหารเขมร ผลปรากฏว่า ตายเรียบเพราะถูกกระสุนของข้าศึก ส่วนตัวเขาเองไม่ได้วิ่งโทง ๆ ออกไป แต่วิ่งหลบตามโคนต้นตาล เล้าหมู คอกวัวคอกควายจึงรอดชีวิตกลับมาได้ ทําให้เขาสงสัยว่า ประดาพระเครื่องและเครื่องรางของขลังต่าง ๆ นั้นเหตุใดจึงคุ้มครองเพื่อนของเขาไม่ ได้ ตัวเขาก็มีเครื่องรางของขลังเหมือนกัน แต่ขณะวิ่งประจัญบานกับข้าศึก เขาหลบกําบังตามโคนต้นตาลและคอกวัวคอกควาย ฉะนั้น อะไรกันแน่ที่คุ้มครองเขาจากกระสุนปืนของข้าศึก เขาจะเล่าประสบการณ์ในการออกสนามรบครั้งสงครามมหาเอเชียบูรพาให้เพื่อน ๆ ฟังเสมออย่างภาคภูมิใจและจะชูนิ้วชี้ซ้ายซึ่งคดเกเป็นประจักษ์พยานว่าเขาเพียงถูกลูกปืนของข้าศึกเฉียดนิ้วไป แท้จริงแล้วเกิดจากซิฟิลิส กินกระดูก
และแล้วสงครามก็อุบัติขึ้นจริง ๆ ญี่ปุ่นมหามิตรของไทยยกพลขึ้นบกบุกภาคใต้ของประเทศไทยหลายจังหวัด เมื่อ วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ ทหารไทยออกต่อต้านอย่างสุดใจขาดดิ้น มีการปะทะกันระหว่างทหารไทยกับทหารญี่ปุ่น เพียง ๑๐ ชั่วโมงเท่านั้น ๆ จริง ๆ รัฐบาลไทยสมัยนั้นประกาศยอมให้ทหารญี่ปุ่นเข้าประเทศไทย ได้อย่างสะดวกโยธิน ไทยประกาศสงครามกับสหราชอาณาจักรอังกฤษร่วมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ภายในไม่กี่วันทหารญี่ปุ่นก็เพ่นพ่านเต็มบ้านเต็มเมือง งานฉลองรัฐธรรมนูญ วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๘๔ ยกเลิกไปโดยปริยาย
ขอเล่างานฉลองรัฐธรรมนูญสักหน่อย งานนี้เป็นงานใหญ่ของชาติ มีงานออกร้านของหน่วยราชการทุกกรมทุกกระทรวง มีการแสดงสินค้าอุตสาหกรรม การแสดงนานาชนิด ประกวดพืช ประกวดสตรี รวมทั้งประกวดคนคือการประกวดสาวไทย สรรหาคนงามว่าใครจะได้เป็นนางสาวไทย ร้านค้าของเอกชนก็ตบแต่งร้านของตนอย่างวิจิตรพิสดาร ประดับประทีปโคมไฟสว่างไสวทั่ว บริเวณงาน งานฉลองรัฐธรรมนูญจัดที่วังสราญรมย์และสนามชัยซึ่งอยู่ติดกับวังสราญรมย์ งานมี ๑๐ วัน ๑๐ คืน และเก็บค่าผ่านประตูเข้าชมงานด้วย
วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๕๘๔ ญี่ปุ่นบุกประเทศไทยก่อนหน้ามีงานเพียง ๒ วัน บริเวณวังสราญรมย์ก็มีร้านค้าทั้งของเอกชนและส่วนราชการตบแต่งร้านของตนเกือบเสร็จแล้ว รัฐบาลไม่รู้เลยว่า ญี่ปุ่นจะบุกประเทศไทยเมื่อไร จึงไม่ได้ประกาศงดงานฉลองรัฐ ธรรมนูญก่อนญี่ปุ่นบุก พวกเรานักเรียนแพทย์ชั้นปีที่ ๔ ตื่นเต้นกับ การยกพลขึ้นบกของทหารญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก งงงวยต่อการดําเนินกุสโลบายของรัฐบาล ก่อนหน้านั้นสื่อมวลชนทุกแขนงประกาศ ตลอดวันตลอดคืน เปิดวิทยุสถานีไหนสถานีนั้น จะได้ยินว่า “ไทยเราสู้ตาย” “ไทยจะรบจนทหารคนสุดท้าย” “เราจะสู้จนสุดใจขาดดิ้น” แต่เหตุไรพอญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกทางชายฝั่งทะเลภาคใต้ของ ประเทศ ปะทะกับทหารไทยไม่ถึง ๒๔ ชั่วโมง เราก็ประกาศยอมแพ้ เอ๊ย…ไม่ใช่ ประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นเสียแล้ว ยอมให้ญี่ปุ่นตั้งกองทัพในประเทศไทยแต่โดยดี รัฐบาลบอกว่าไทยเราจะได้ไม่เสียเลือดเนื้อ ทหารหาญที่ตายจากการสู้รบกับทหารญี่ปุ่นได้ปูนบําเร็จ ๘ ขั้น ๔ ขั้นก็ว่าไป กระดูกก็เก็บลงปี๊บรอการณาปนกิจอย่างสมเกียรติของวีรชนผู้กล้าหาญ
ขณะที่พวกเรานักเรียนแพทย์ปีสุดท้ายยังมึนงงกับข่าวทหารญี่ปุ่น ฟ้าก็ผ่าลงมากลางวันแสก ๆ มีประกาศติดที่หน้าตึกอํานวยการของโรงพยาบาลศิริราช ประกาศลงวันที่ ๓ มีนาคม ๒๔๘๕ ว่า ให้ผู้มีชื่อต่อไปนี้เข้ารับราชการทหาร….ผู้เขียนเป็นผู้หนึ่งที่มีชื่อในประกาศแผ่นนั้นด้วย เป็นประกาศที่เปลี่ยนวิถีชีวิตของนักเรียนแพทย์รุ่นนั้นอย่างสิ้นเชิง พวกเราทุกคนผ่านการเกณฑ์ทหารมาแล้ว ทุกคนกําหนดวิถีชีวิตไว้แล้วว่าจะเข้ารับราชการที่กระทรวงนั้น กระทรวงนี้ แต่ประกาศแผ่นนั้น พวกเราจะต้องเข้ารับราชการทหาร แต่ก็ดีไปอย่างเมื่อยามศึกสงครามได้เข้ารับใช้ประเทศชาติโดยการเป็นทหาร แต่การรับใช้ประเทศชาติ จําเป็นหรือที่จะต้องเป็นทหารการเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงอื่น หรือการเป็นพ่อค้าวานิช เสียภาษีอากรให้กับรัฐอย่างถูกต้องตามกฎหมายไม่เป็นการรับใช้ประเทศชาติดอกหรือ
พวกเราต่างถามกันว่า การที่จะให้พวกเรารับราชการทหารขณะนั้นข้าศึกของเราคือใคร ? แต่ไม่ใช่ญี่ปุ่นอย่างแน่นอน แล้วเราจะไปรบกับใครเล่า ไม่มีผู้ใดให้คําตอบได้ หลังจากรายงานตัวแล้วผู้เขียนถูกบรรจุเป็นทหารเสนารักษ์ของกองพล ๓ ตําแหน่งพยาบาลหน้า ๒ ซึ่งต้องปฏิบัติการรักษาพยาบาลห่างจากแนวรบ ๒ กิโลเมตร โดยรับยศเป็นว่าที่ร้อยตรี ขอเล่ารวบรัดว่าเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ทางภาคเหนือ ขึ้นรถไฟไปลงที่ลําปาง จากลําปางโดยสารรถยนต์ทหารไปลงที่อําเภอพะเยา สมัยนั้นยังเป็นอําเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย เข้าสมทบกองเสนารักษ์ของกองพล ๓ จากนั้นเดินทางเข้าไปเชียงราย ผ่านอําเภอแม่จัน จากเชียงรายเดินเท้าสู่อําเภอแม่สายจุดเหนือสุดของประเทศไทย จากแม่สายเดินเท้าอีกเช่นเคยสู่สหรัฐไทยเดิม ผ่านเมืองเลน เมืองพยาค การเดินเท้าเมื่อพ้นเขตประเทศไทยต้องลุยน้ําลุยโคลนขนาดครึ่งแข้ง ตอนนั้นผู้เขียนยังหนุ่มแน่น จึงไม่สู้ลําบากเท่าไร แต่ก็ยังไม่ไหวอยู่ดี ขนาดปืนพกเพียงกระบอกเดียวต้องให้ทหารประจําตัวถือให้ ระหว่างทางพบซากของม้าเทศพร้อมกับอานและบังเหียนครบชุด นอนตายเหลือแต่กระดูกหลายตัวผู้เขียนแปลกใจมากขนาดคนยังต้องบุกโคลนเลนครึ่งแข้ง แล้วม้าเทศรักษาพระองค์ จะเดินทางได้อย่างไร หน่วยเสนาธิการของกองทัพ ไม่รู้บ้างเลยหรือว่า ภูมิประเทศของสหรัฐไทยเดิมนั้นเป็นอย่างไรม้าเทศรักษาพระองค์ต้องกินเกลือและข้าวเปลือก แล้วของสองอย่างนั้นจะไปหาได้ที่ไหน ขนาดคนยังไม่มีจะกิน เป็นของหายากและมีค่ามากในสหรัฐไทยเดิม พลาธิการแจกเงินเบี้ยเลี้ยงให้ไปหาอาหารกินกันเองในที่ตั้งปกติ มีตลาดมีอาหารการกินบริบูรณ์ พลาธิการกลับหุงข้าวหาอาหารเลี้ยง แต่ในภูมิประเทศในภาวะสงคราม อย่างนั้น ไม่มีตลาดไม่มีอาหารขาย ฝ่ายพลาธิการกลับแจกเงิน ให้ไปซื้ออาหารมาหุงต้มกินกันเอง ตลกสิ้นดี ผู้เขียนเป็นนายทหารมีพลประจําตัวเป็นผู้จัดหาอาหารให้จึงไม่ลําบากเท่าไร กระนั้นก็ต้องใช้ความอดทนพอดู ทหารทั้งกองพล ๗-๘ ร้อยคน ต่างก็ต้องหาอาหารกินเอง ตามแต่จะหาได้ แล้วจะไปรบกับใครกัน วัน ๆ หนึ่งสาระวนแต่หาอาหารใส่ท้องตัวเอง ก็ไม่ต้องทําอะไรกันแล้ว
ที่เมืองพยาคนี่เอง ผู้เขียนเห็นชาวบ้านกลับมาบ้านของตัวขุดคุ้ยเครื่องมือทํากินซึ่งฝังดินไว้ก่อนที่จะหลบหนีผู้รุกรานออกจากบ้านมี จอบ เสียม มีด และอื่น ๆ จึงได้ทราบว่าผู้รุกรานก่อนหน้าที่ ทหารไทยจะไปถึง คือ “เจ็ก” ผู้เขียนจึงได้รู้ว่า เราถูกส่งไปรบกับเจ็กนั่นเอง ชาวบ้านเล่าว่าก่อนที่ทหารไทยจะไปถึงไม่กี่วัน ทหารจีนก็ล่าถอยไป ละทิ้งข้าวของบางอย่างไว้ ที่สําคัญก็คือ ข้าว ทหารเสนารักษ์ของผู้เขียนได้ข้าวซึ่งทหารจีนทิ้งไว้ เป็นอาหารกินกันตายได้หลายวัน เป็นปลายข้าวคลุกด้วยปูนขาว เมื่อจะหุงกินก็ล้างปูนขาวออกเสียก่อน ก็ยังดีกว่าไม่มีจะกินมิใช่หรือ ขอขอบคุณอาเจ้กไว้ ณ ที่นี้ด้วย
จากเมืองพยาค ผู้เขียนเดินเท้าไปอีกหลายเมือง เช่นเมืองยอง เมืองมะ จนติดแม่น้ําหลวย ถ้าข้ามแม่น้ําหลวยไปก็จะเข้าเขตยูนนาน ตลอดทางเดินเท้า น้อยครั้งที่จะเดินบนทางเดินที่แห้ง ส่วนมากต้องย่ำโคลนสองข้างทางเป็นซอกเนิน ป่าละเมาะ ถ้ามีข้าศึกแอบซ่อนอยู่บนเนินเพียงไม่กี่คน และโจมตีด้วยปืนกล หรือปืนอะไรก็ได้ ทหารไทยจะไม่มีชีวิตรอดมาได้เลยแม้แต่คนเดียว แต่ปรากฏว่าไม่ได้ยินเสียงลูกปืนชนิดใด ๆ เลย ไม่เคยได้รักษาทหารซึ่งถูกอาวุธของ ข้าศึกแม้แต่คนเดียว รักษาพวกเดียวกันเอง โรคที่พบมากคือ มาเลเรียและบิดมีตัว ยาก็ไม่มีจะรักษา มีคําสั่งให้ใช้ใบกอมขมต้มรักษามาเลเรีย ผลก็คือทหารตายด้วยมาเลเรีย วันละ ๔-๕ คน วันแล้ววันเล่า จน ผู้เขียนคิดว่าผู้เขียนซึ่งเป็นแพทย์ เป็นนายทหารเสนารักษ์ของกองทัพจะต้องตายด้วยมาเลเรียสักวันหนึ่ง
เราออกมารบกับใคร รบกับเจ็กตามที่ชาวบ้านบอกกระนั้นหรือ กองทัพไทยส่งทหารไปสหรัฐไทยเดิมเพื่อรบกับใคร บนสันเขาลูกหนึ่งของเมืองมะ มีทหารปืนใหญ่อยู่กองหนึ่ง ห่างจากหน่วยเสนารักษ์ ของผู้เขียน ๑ กิโลเมตร ทุกเช้าจะได้ยินเสียงปืนใหญ่ ๔-๕ นัด ผู้เขียนถามนายทหารผู้สั่งยิงว่า (นายทหารผู้นี้กับผู้เขียนเรียนชั้นมัธยมรุ่นเดียวกัน) “ลื้อยิงปืนใหญ่เพื่ออะไร” เขาบอกว่าผู้บังคับบัญชาสั่งให้ยิงทุกวัน เขาก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ยิงเพื่อให้ถูกใคร ไม่รู้ว่าใครคือข้าศึก เพียงแต่ยิงขึ้นฟ้าตามคําสั่ง